วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning log 14

(บันทึกการเรียนครั้งที่14)


Friday  14  November 2018  (วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2561)  


 Time: 8.30-12.30 am


➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

       วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งเเผนผังความคิดของเเต่ละคน ซึ่งของดิฉันได้ทำเเผนผังความคิดเรื่อง ต้นไม้


หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาเเต่ละกลุ่มเลือกเเผนผังความคิดของสมาชิกภายในกลุ่มตนเอง มา 1 เเผนผังความคิด  เเละให้สมาชิกภายในกลุ่มร่วมกันทำ เป็นเเผนผังความคิดจากโปรเเกรม เเละ ทำเเผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เลือก เเผนผังความคิดเรื่องข้าว ดังนี้




เเผนผังความคิดเรื่องข้าว



เเผนการจัดประสบการณ์หน่วย ข้าว

เเผนการจัดประสบการณ์ วันที่ 1 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง ชนิดของข้าว



เเผนการจัดประสบการณ์ วันที่ 1 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เรื่อง ลักษณะของข้าว

เเผนการจัดประสบการณ์ วันที่ 1 กิจกรรมกลางเเจ้ง  เรื่อง การดูเเลรักษาต้นข้าว


➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์คอยให้คำเเนะนำในส่วนที่ต้องปรับเเก้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการทำเเผนผังความคิดเเละเเผนการจัดประสบการณ์

Friend :ตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์สั่งอย่างตั้งใจเเละมีความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน

Self :  ศึกษาวิธีกาีทำเเผนผังความคิดจากโปรเเกรม เเละทำเเผนการจัดประสบการณ์ อย่างตั้งใจ


Learning log 13

(บันทึกการเรียนครั้งที่13)


Friday  9  November 2018  (วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2561)  

 Time: 8.30-12.30 am


➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

ความลับของเเสง💢

              เเสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวของคลื่นสั้นมาก  เเสงสามารถเคลื่อนที่ได้ 300000 กิโลเมตร/ วินาที
วิิธีการทดลอง

    หากนํากล่องใบใหญ่ที่มี ฝาปิดเจาะรูข้างกลอ่ ง 1 รูและนําของต่างๆ มาใสในกล่องหลังจากนั้นปิดฝา
กล่องและมองเข้าไปในรูที่เจาะไว ้ จากนั้นค่อยๆเปิดฝากล่องออกจะเห็นวัตถุ ในกล่องลองเจาะรูเพิ่มอีก หนึ่งรูแล้วเอาไฟฉายมาส่องไปที่รูที่เจาะใหม่เราจะมองเห็นของในกล่อง

สาเหตุ   สาเหตึุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุได้นั้นนอกจากเเสงที่ส่องลงมาที่วัตถุเเล้ว  เเสงยังต้องสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาเรา เราจึงจะมองเห็นวัตถุเหล่านั้นได้

การเคลื่อนที่ของเเสง💢
คุณสมบัติ   เเสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียวเเละไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง  วัตถุบางชนิดที่เเสงสามารถผ่านทะลุได้ วัตถุบนโลกเมื่อมีเเสงตกกระทบจะมีคุณสมบัติ 3 เเบบ  ได้เเก่ วัตถุโปร่งเเสง  วัตถุโปร่งใส เเละวัตถุทึบเเสง (ส่วนใหญ่วัตถุบนโลกจะเป็นวัตถุทึบเเสง)


กล้องรูเข็ม💢


วิธีการทดลอง  เเสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆจึงได้ภาพหัวกลับ  จากนั้นลองเจาะรู้อีกรู จะเห็นรูปซ้อนกัน เพราะว่าเเสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านล่างเเละเเสงส่วนล่างของภาพวิ่งผ่านตรงรูเล็กๆเเละมาตกกระทบที่ด้านบน
  
กล้องฮอโรโดสโคป💢


วิธีการทดลอง   กระจก 3 บานใช้หลักการสะท้อนของเเสงเเละมุมประกอบกันของกระจกเมื่อเเสงตกกระทบทางกระบอกของสามเหลี่ยมเเละเกิดการสะท้อนไปสะท้อนมาทำให้เกิดภาพมากมาย  หลักการสะท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นจากที่สูงๆได้


➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์คอยให้คำเเนะนำเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์

Friend :ดูวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ เเละมีการจดบันทึกความรู้เพิ่มเติม

Self :  ตั้งใจดูวีีโอการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจเเละมีการคิดวิเคราะห์ตาม


วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning log 12

(บันทึกการเรียนครั้งที่12)


Friday  2  November 2018  (วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2561)  

 Time: 8.30-12.30 am


➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

    วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอการทดลองของเเต่ละกลุ่ม เเละได้ให้คำเเนะในการปรับเเก้ของเเต่ละกลุ่ม ดังนี้


💢ฐานที่ 1 ติด ดับ จับต่อ💢



สมมุติฐาน  ถ้าครูนำวัสดุแต่ละอย่างมาเชื่อมต่อในวงจรไฟฟ้า เด็กๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น


วัตถุประสงค์   
1. เด็กๆ รู้ว่าแหล่งกำเนิดไฟฟ้าคืออะไร
2. เด็กสามารถแยกแยะวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าได้

ขั้นตอนการทดลอง
1. นำวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าใส่รวมกันในตะกร้าใหญ่เพื่อให้เด็กหยิบมาทำการทดลอง
2. นำสายไฟชนิดตัวหนีบปากจระเข้ ทั้ง 3 สาย มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า แล้วตรวจสอบว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
3. แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ให้เด็กแต่ละคนหยิบวัสดุมาต่อเข้ากับสายหนีบปากจระเข้  คนละ 1 ชิ้น แล้วดูว่าหลอดไฟติดสว่างหรือไม่
4. ถ้าหลอดไฟติด วัสดุนั้นเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้าหลอดไฟไม่ติด วัสดุนั้นจะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
5. หลังจากการทดลองเสร็จ เด็กๆแยกวัสดุที่นำไฟฟ้าและวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าใส่ตะกร้าใบเล็ก
สรุปผลการทดลอง
 การที่เราสามารถจับสายไฟได้โดยที่ไม่โดนไฟดูด เพราะสายไฟถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็น ฉนวน ซึ่งไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้ 


💢ฐานที่ 2 ปริศนา ซี โอ ทู 💢



สมมติฐาน  ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดอะไรขึ้น?

ขั้นตอนการทดลอง
1.ครูให้เด็กตักเบกกิงโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือแต่ละชนิด ครั้งละ  2 ช้อนใส่ในแก้วพลาสติกใบที่ 1 ,2,3,4 ตามลำดับ
           2.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 1 ที่มี เบกกิงโซดา และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
           3.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 2 ที่มี น้ำตาลทราย และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
         4.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 3 ที่มี ผงฟู และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
5.ครูให้เด็กตักน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนใส่ลงในแก้วใบที่ 4 ที่มีเกลือ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นให้เด็กบันทึก
 สรุปผลการทดลอง  ใบที่ 3 เกิดฟองเพราะน้ำมะนาวเป็นกรดทำปฏิกิริยากับเบกกิ้งโซดาเเละผงฟูทำให้เกิดฟองอากาศ



💢ฐานที่ 3 น้ำนิ่งไหลลึก


ขั้นตอนการทดลอง
1. เทน้ำจากแก้วใบแรกใส่แก้วใบที่สองสลับกันไปมา
2. เทน้ำใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน 
3. เทน้ำให้เต็มแก้ว แล้วนำคลิปหนีบกระดาษมาวางบนผิวน้ำ
4. จากนั้นหยดน้ำยาล้างจานบนผิวน้ำ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
5. หลังจากนั้นนำผักผลไม้มาบีบ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
         สรุปผลการทดลอง
         วางวัตถุบนผิวน้ำแล้วไม่จม เป็นเพราะน้ำมีแรงตึงผิว

💢ฐานที่ 4 ความลับของสีดำ 💢




สมมติฐาน  ถ้าใช้ปากกาเมจิสีดำ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้น 
ขั้นตอนการทดลอง
1. ให้เด็ก ๆ เตรียมกระดาษกรองคนล่ะ แผ่น
2. ให้ตัดกระดาษตรงกลางเป็นรูเล็ก ๆ แล้วใช้ปากกาเมจิสีดำวาดลวดลายรอบ ๆ รู
3. นำกระดาษกรองแผ่นที่ ม้วนเป็นแท่ง แล้วสอดเข้าไปตรงกลางของรูกระดาษแผ่นที่ 1
4นำกระดาษทั้งสองแผ่นลงไปจุ่มในแก้วนำ ให้กระดาษที่วาดรูปอยู่บนขอบแก้ว ส่วนกระดาษที่ม้วนให้จุ่มลงในน้ำ
5. ให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษกรองที่น้ำซึมผ่านม้วนกระดาษ

สรุปผลการทดลอง เมื่อปากกาเมจิกโดนน้ำเเล้วมีการกระจายออกเป็นสีต่างๆ เพราะว่าสีดำของปากกาเมจิเกิดจากสีต่าง ๆ รวมกันแล้วเป็นสีดำ

➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์คอยให้คำเเนะนำในส่วนที่ต้องปรับเเก้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการทำการทดลองจริงกับเด็ก



Friend :ดูวีดีโอเพื่อนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ เเละมีการจดบันทึก ในสิ่งที่ต้องปรับเเก้ของกลุ่มตนเอง


Self :  ตั้งใจดูวีีโอที่เพื่อนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ

Learning log 11

(บันทึกการเรียนครั้งที่11)


Friday  2  November 2018  (วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2561)  

 Time: 8.30-12.30 am.


➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

        อาจารย์ได้ให้ดูวีดีโอของเพื่อนที่ทดลองจากเเผ่นความรู้บ้านวิทยาศาสตร์ของเเต่ละคน ว่าของเเต่ละคนมีข้อเเละอาจารย์ได้ให้คำเเนะนำวีดีดอการทดลองของเเต่ละคนว่ามีข้อปรับเเก้ตรงไหน เพื่อให้นักศึกษาได้นำคำเเนะนำนี้ไปเป็นเเนวทางในการทดลองวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอนที่ถูกต้องในสถานการณ์จริงกับเด็กๆ

👉เรื่อง คาร์บอนไดออกไซด์  (นางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส) 👈

วิธีการทดลอง
1.จุดเทียนเล็กแล้วนำแก้วครอบเทียน 
2.จากนั้นให้เด็กๆสังเกตว่าดูเทียนที่นำเเก้วไปครอบมีปฏิกิริยาอย่างไร
สรุปผลการทดลอง
หลังจากเราเอาแก้วไปครอบเทียนไว้ทำให้เทียนดับ เพราะอากาศออกซิเจนค่อยๆหมดไป ซึ่งถ้าหากไม่มีอากาศออกซิเจนจะทำให้ไฟไม่ติด

👉ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยดับไฟ  (นางสาวอุไรพร   พวกดี) 👈

วิธีการทดลอง
1. ตักเบกกิงโซดา 2 ช้อน ใส่ในภาชนะ
2. วางเทียนลงในภาชนะแล้วจุดเทียน
3.เทน้ำมะนาวลงในภาชนะที่มีเบกกิงโซดา แล้วสังเกตปรากฏว่าไฟดับ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากน้ำมะนาวทำปฏิกิริยากับเบกกิงโซดา
สรุปผลการทดลอง
   การที่ไฟดับเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

👉การหักเหของน้ำ (นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์)👈


วิธีการทดลอง
1. นำผ้าเช็ดหน้าถูกับช้อนจนเกิดความร้อน
2.นำช้อนที่มีไฟฟ้าสถิตไปวางขนานใกล้กับสายน้ำ และสังเกตการเปลี่ยนแปลง 
สรุปผลการทดลอง
น้ำเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เพราะเกิดการสร้างไฟฟ้าสถิต

👉ปิดปิด! สวิสซ์มีหน้าที่อะไร  (นางสาวปรางทอง  สุริวงษ์)👈

วิธีการทดลอง
1.นำสายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ  สายไฟ ถ่าน หลอดไฟ ต่อกันจนครบวงจร
2. ให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
สรุปผลการทดลอง
 เกิดไฟติดแสดงว่า ต่ออุปกรณ์จนครบวงจร   หากนำมาต่อกับวัสดุอื่นๆมาต่อเเล้วติด เเสดวงว่าเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนวัสดุที่ต่อแล้วไฟไม่ติดแสดงว่า เป็นฉนวนไฟฟ้า 


➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์คอยให้คำเเนะนำในส่วนที่นักศึกษาในเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจอย่างใกล้ชิด

Friend :ดูวีดีโอเพื่อนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ เเละมีการจดบันทึก

Self :  ตั้งใจดูวีีโอที่เพื่อนนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ เเละมีการจดบันทึกวิธีการทดลองของเพื่อนเเต่ละคนที่นำเสนอ